วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

Dicision support and implementation

น.ส.ปุณณภา นิยมเสน เลขที่ 58560442 
นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรบริหารดุษฎีบัณฑิต (D.B.A.07)มหาวิทยาลัยศรีปทุม
รายวิชา DBA 702 ทฤษฎีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงและแนวคิดเชิงปฎิบัติ
          (Advanced Theories of Strategic Management Marketing Concepts and   
           Practices)  (ผศ.ดร.วิชิต  อู่อ้น)
หลักจากการฟัง Present ของเพื่อนนักศึกษา DBA07

Topic: To share or not to share: the role of content and emotion in viral marketing.
Figure: A decision tree to the interplay between content and affect in viral marketing.

Author: Elsamari Botha & Mignon Reyneke (2013)
Source: EBSCO : Journal of Public Affairs Volume
13 Number 2 pp 160–171 (2013)


จากภาพโมเดลพบว่าเนื้อหาของคอนเทนต์วีดีโอแบ่งเป็นสองประเภท คือ คอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจงและคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาทั่วไป โดยการแพร่กระจายนั้นมีรูปแบบดังนี้
เนื้อหาเฉพาะเจาะจง ผู้ชมจะแชร์คอนเทนต์นั้นๆต่อ เมื่อผู้ชมมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมกับ
คอนเทนต์ที่ตนเองชม

เนื้อหาทั่วไป ผู้ชมจะแชร์คอนเทนต์นั้นๆต่อ เมื่อคอนเทนต์มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้รับชม จากนั้นเมื่อผู้ชมเกิดอารมณ์ความรู้สึกร่วมกับคอนเทนต์ที่ตนเองชมถึงจะทำการกดแชร์ต่อ

............................................................

Topic: Social media marketing in the hospitality industry: The role of benefits in increasing brand community participation and the impact of participation on consumer trust and commitment toward hotel and restaurant brands.
Author: Juhee Kang (2013)

Source: ProQuest : A dissertation submitted to graduate faculty in partial fulfillment of the requirements for the degree of DOCTOR OF PHILOSOPHY p. 44


จากภาพโมเดลพบว่าอรรถประโยชน์ของสินค้า ประโยชน์ทางสังคม ประโยชน์ทางจิตวิทยา ความชอบส่วนบุคคล ประโยชน์ทางด้านการเงิน จะส่งผลไปยังการเข้าร่วมชุมชนออนไลน์แล้วถึงส่งผลไปยังการผูกติดกับแบรนด์ในกลุ่มผู้บริโภค
ทั้งนี้ในบางกรณี เมื่อมีการเข้าร่วมชุมชนออนไลน์แล้ว จะก่อให้เกิดความเชื่อถือต่อแบรนด์ก่อน แล้วจึงค่อยส่งผลไปยังการผู้ติดกับแบรนด์ต่อไป

............................................................

Strategy

น.ส.ปุณณภา นิยมเสน เลขที่ 58560442 
นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรบริหารดุษฎีบัณฑิต (D.B.A.07)มหาวิทยาลัยศรีปทุม
รายวิชา DBA 702 ทฤษฎีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงและแนวคิดเชิงปฎิบัติ
          (Advanced Theories of Strategic Management Marketing Concepts and   
           Practices)  (ผศ.ดร.วิชิต  อู่อ้น)
หลักจากการฟัง Present ของเพื่อนนักศึกษา DBA07

น.ส. ปรัชญาเมธี  เทียนทอง  (นุชสีชมพู)   หัวข้อที่ 11 กลยุทธ์การตลาด

เรื่องที่ 1  กลยุทธ์การตลาดสำหรับธุรกิจส่งออกเพื่อความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพของธุรกิจ

ชื่อเรื่อง :  Sustainable Export Marketing Strategy Fit and Performance
 ผู้แต่ง    :  Zeriti, Athina , Robson, Matthew J. , Spyropoulou, Stavroula , Leonidou, Constantinos N.
 ที่มา
    :  Journal of International Marketing, 2014


การที่องค์กรจะกำหนดกลยุทธ์ทางด้านการตลาดในการดำเนินงานนั้น ต้องทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร ซึ่งประกอบด้วย
                สภาพแวดล้อมมหาภาค ประกอบด้วยปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ กฏระเบียบข้อบังคับ สังคมวัฒนธรรม และเทคโนโลยี
                สภาพแวดล้อมจุลภาค ประกอบด้วยปัจจัยทางด้านความสามารถในการแข่งขันขององค์กร ลักษณะของกลุ่มลูกค้า ลักษณะของตลาด และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
                เมื่อองค์กรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมดังกล่าวแล้วจึงนำมากำหนดเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้กับองค์กรเพื่อความยั่งยืนและมีประสิทธิภาพของธุรกิจ

...........................................................

เรื่องที่ 2  การสร้างปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบในการจัดการความรู้ที่นำไปสู่ความสามารถหลักในการดำเนินงาน
ชื่อเรื่อง  :   Do interactions among elements of knowledge management lead to acquiring core                  competencies?
ผู้แต่ง    
:   Esmaei Shaabani, Heidar Ahmadi and HamidReza Yazdani
ที่มา      
:   Business Strategy Series, 2012


การจัดการองค์ความรู้ในองค์กร จะต้องมีการจัดการองค์ความรู้พื้นฐาน ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ซึ่งประกอบด้วย
H1: การจัดการองค์ความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วยปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี สังคมวัฒนธรรม และบุคลากร  
H2: การจัดการองค์ความรู้ด้านกลยุทธ์  ประกอบด้วยปัจจัยการสร้างการรับรู้ด้านกลยุทธ์ภายในองค์กร และการสร้างการรับรู้ด้านกลยุทธ์ภายนอกองค์กร
ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อการก่อให้เกิดความสามารถหลักในการดำเนินงานด้านการตลาด ด้านเทคโนโลยี และด้านการบูรณาการ
H3: ในขณะเดียวกันองค์กรต้องมีการจัดการองค์ความรู้ด้านการจัดหาทรัพยากร การสื่อสาร การใช้โปรแกรมระบบข้อมูล และมีระบบการป้องกันที่ดี เพื่อจะนำไปสู่ความสามารถหลักในการดำเนินงาน
H4: องค์กรจะต้องมีการจัดการองค์ความรู้ด้านความรู้พื้นฐาน เพื่อนำไปสู่กระบวนการจัดการที่ดี
H5: องค์กรจะต้องมีการจัดการองค์ความรู้ด้านกลยุทธ์ทั้งกลยุทธ์ภายในและภายนอกองค์กรเพื่อนำไปสู่กระบวนการจัดการที่ดี

...........................................................





ชื่อเรื่อง  กลยุทธ์การตลาดฉุกเฉินและประสิทธิภาพการทำงาน กรณีศึกษาผลกระทบจากความไม่แน่นอนของตลาดและระบบข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์
เป็นการศึกษาผลกระทบจากความไม่แน่นอนของตลาด ซึ่งเป็นตัวแปรต้น ความไม่แน่นอนของตลาดได้แก่ พลวัตทางการตลาด(ตลาดสามัคคี)  และความซับซ้อนของตลาด  และการบอกกล่าวหรือการประกาศ ส่งผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ฉุกเฉิน ด้านผลิตภัณฑ์  ราคา  ช่องทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการขาย  ซึ่งเมื่อกำหนดกลยุทธ์ด้านต่างๆ แล้วจะต้องประเมินผลทางการตลาดได้ว่าสำเร็จหรือไม่   และผลจากการประเมินทางการตลาดดังกล่าว  มาประเมินผลว่า จากผลการดำเนินการส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านการเงินหรือไม่

...........................................................




ชื่อเรื่อง ผลกระทบที่ทำให้เกิดการกำหนดกลยุทธ์การตลาดและการดำเนินการตามประสิทธิภาพการทำงานของบริษัท
ศึกษาถึงผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมภายในได้แก่ ความน่าสนใจของตลาด การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การแข่งขันในตลาด ส่งผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ และกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ  การกำหนดกลยุทธ์สามารถศึกษาจาก การวิเคราะห์ความสามารถของบริษัท  นวัตกรรมด้านวัฒนธรรม  การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง  เมื่อกำหนดกลยุทธ์ได้แล้ว จึงนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติด้วยเช่น ปฏิบัติการประเมินผลและการควบคุม ผู้จัดการอิสระนำกลยุทธ์ไปใช้   ความมุ่งมั่นของผู้จัดการฝ่ายการตลาด ซึ่งการกำหนดกลยุทธ์มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ  และเมื่อนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติแล้ว ต้องประเมินผลจากการดำเนินการแบ่งเป็น 2 ส่วน คือการเงินมีประสิทธิภาพขึ้นหรือไม่   กลยุทธ์ที่ใช้มีประสิทธิ์ภาพหรือไม่

...........................................................

New Product Planning

น.ส.ปุณณภา นิยมเสน เลขที่ 58560442 
นักศึกษาปริญญาเอกหลักสูตรบริหารดุษฎีบัณฑิต (D.B.A.07)มหาวิทยาลัยศรีปทุม
รายวิชา DBA 702 ทฤษฎีการจัดการการตลาดเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงและแนวคิดเชิงปฎิบัติ
          (Advanced Theories of Strategic Management Marketing Concepts and   
           Practices)  (ผศ.ดร.วิชิต  อู่อ้น)
หลักจากการฟัง Present ของเพื่อนนักศึกษา DBA07


การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product development)           (สุภัทรา เอี่ยมสอาด เปีย)

New product หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้


1. Innovation
     หมายถึง ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมใหม่ ที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาด


2. Modified
    หมายถึง ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงใหม่ โดยการปรับเปลี่ยน ดัดแปลงผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมให้มีความแปลกใหม่มากขึ้น


3. Me-too
    หมายถึง ผลิตภัณฑ์ลอกเลียนแบบ โดยการลอกเลียนแบบผลิตภัณฑ์ของคู่แข่งขัน เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่สำหรับบริษัท แต่เก่าในตลาด
กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product development process)

                  ชื่อเรื่อง : new product development
                  ผู้แต่ง : Armstrong and Kolter
                  แหล่งที่มา: Marketing : An Introduction, 9th edition.

กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แบ่งออกเป็น 8 ขั้นตอน ดังแสดงในรูป




1. การสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ (Idea generation)
        ในขั้นนี้เป็นการสร้างแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยแหล่งข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่นั้น แบ่งออกเป็น 2 แหล่งด้วยกัน คือ


(1) แหล่งภายในองค์กร ได้แก่



 พนักงานขาย (Salespersons) ถือเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้บริโภค และทราบถึงความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด
 ฝ่ายวิจัยและพัฒนา (R&D Specialists) เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ
 ผู้บริหารระดับสูง (Top Management) เป็นบุคคลที่ทราบถึงจุดอ่อน จุดแข็งของบริษัท จึงเป็นเหมือนผู้กำหนดทิศทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่


(2) แหล่งภายนอกองค์กร ได้แก่



 ลูกค้า (Customers) ถือเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่บริษัทจะเสนอขายนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก
 
สมาชิกในช่องทางการจัดจำหน่าย (Channel Members) เป็นอีกแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ทราบถึงความต้องการของลูกค้า เช่น พ่อค้าส่ง พ่อค้าปลีก ตัวแทนจำหน่าย เป็นต้น
 
คู่แข่งขัน (Competitors) การเคลื่อนไหวทางการแข่งขัน รวมถึงกลยุทธ์ของคู่แข่งก็เป็นอีกแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ช่วยบริษัทในการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่

2. การประเมินและคัดเลือกแนวความคิด (Idea screening)
     หลังจากได้แนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่แล้ว ก็จะต้องมีการนำแนวความคิดเหล่านั้นมาทำการประเมินถึงความเป็นไปได้ และคัดเลือกแนวความคิดที่ดีและเหมาะสมที่สุด มาทำการพัฒนาและทดสอบแนวความคิดต่อไป  ในการคัดเลือกแนวความคิดที่เหมาะสม อาจจะเริ่มต้นด้วยการถามคำถามต่างๆ เช่น
·       ผลิตภัณฑ์มีประโยชน์ในการใช้งานได้จริงหรือไม่
·       ดีพอสำหรับภาพลักษณ์ของบริษัทหรือไม่
·       สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ของบริษัทหรือไม่
·       มีบุคลากรที่มีทักษะและวัตถุดิบที่เหมาะสมสำหรับผลิตสินค้าใหม่หรือไม่
·       มีคุณค่าต่อลูกค้ามากกว่าสินค้าของคู่แข่งหรือไม่
·       ง่ายต่อการทำประชาสัมพันธ์และการจัดจำหน่ายหรือไม่

3. การพัฒนาและทดสอบแนวความคิด (Concept development and testing)
      เมื่อได้แนวความคิดที่ดีและเหมาะสมที่สุดจากขั้นตอนที่สองแล้ว ขั้นต่อไปเป็นการนำแนวความคิดที่ผ่านการคัดเลือกแล้วนั้นมาพัฒนาให้มีความชัดเจนมากขึ้น และนำไปทดสอบกับกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมาย เพื่อวัดความรู้สึกและการยอมรับในผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ อาจจะนำเสนอเป็นการอธิบายโดยใช้คำพูดหรือรูปภาพ หรือบางบริษัทอาจนำเสนอโดยการให้สัมผัสสินค้าจริง

 4. การพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing strategy development)
       ในขั้นนี้เป็นการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด ได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายทางการตลาด การทำ STP Marketing (การแบ่งส่วนตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย และการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์) และการออกแบบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix : 4 P's)
ตัวอย่างของ STP Marketing เช่น
Segment การแบ่งส่วนการตลาด -  เกณฑ์ตัดสินที่นิยมมาแบ่งส่วนการตลาด เช่น
ประชากรศาสตร์ - เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ สถานะสมรส
ภูมิศาสตร์ แบ่งตามสถานที่ที่แตกต่างกัน เช่น จังหวัด อำเภอ หมู่บ้าน
จิตวิทยา ไลฟ์สไตล์ การใช้ชีวิต ความชื่นชอบ ค่านิยม บุคลิกภาพ
พฤติกรรม อัตราในการใช้ (ซื้อบ่อยหรือนานๆครั้ง) , สถานะผู้ใช้ (ไม่เคยใช้ ใช้ครั้งแรกหรือใช้บ่อย)
Target market การกำหนดตลาดเป้าหมาย –  ก็คือ การเลือกลูกค้าหรือเลือกผู้ซื้อสินค้า เช่น เป็นตลาดผู้บริโภค ตลาดอุตสาหกรรม ตลาดรัฐบาล ตลาดต่างประเทศ ตลาดบริการ
Positioning การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างภาพสินค้าที่ชัดเจนในใจกลุ่มเป้าหมาย เช่น  กำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ตามลักษณะผู้ใช้ เช่น ยาสระผมขจัดรังแค สำหรับผู้ที่มีปัญหาหนังศีรษะ


5. การวิเคราะห์สภาพทางธุรกิจ (Business analysis)
เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์และความเป็นไปได้ทางธุรกิจ ในการนำผลิตภัณฑ์ออกจำหน่าย เช่น การคาดคะเนถึงความต้องการซื้อ ต้นทุนและผลกำไรที่จะได้รับ เป็นต้น

6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product development)
      เมื่อแนวความคิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ผ่านขั้นตอนต่างๆ ทั้ง 5 ขั้นมาแล้ว ในขั้นนี้จะเป็นการพัฒนาแนวความคิดให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา  ฝ่ายวิจัยและพัฒนาต้องทดสอบสินค้าต้นแบบมากกว่า 1 ครั้ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากพอที่ลูกค้าจะรับรู้ถึงคุณค่า


7. การทดสอบตลาด (Market testing)
      ก่อนที่จะนำผลิตภัณฑ์ออกวางจำหน่าย ควรมีการทดสอบตลาดก่อน โดยอาจจะทำในรูปของการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในขอบเขตที่จำกัด หรือให้ผู้บริโภคทำการทดลองใช้หรือบริโภคผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อเป็นการวัดการยอมรับของลูกค้าเป้าหมาย ทำให้ทราบถึงจุดดี จุดด้อยของผลิตภัณฑ์ เพื่อนำไป
ปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น และตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด

8. การดำเนินธุรกิจวางตลาดสินค้า (Commercialization)
เมื่อผลิตภัณฑ์ได้ผ่านการทดสอบตลาดแล้ว ในขั้นสุดท้ายก็จะเป็นการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกวางจำหน่ายจริงตามแผนการตลาดที่ได้วางแผนเอาไว้ ขั้นนี้จึงเป็นขั้นแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ (Introduction Stage) ของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product life Cycle : PLC)

กระบวนการสร้างการยอมรับของผู้บริโภค (Consumer Adoption Process)
                  ชื่อเรื่อง :5 Stages to the Consumer Adoption Process
                  ผู้แต่ง: Nathan Chandra
                  แหล่งที่มา : https://welink.com/blog/2014/10/27/the-consumer-adoption-process-never-changes/

...............................................................



·         ขั้น 1 สร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (Product Awareness) บริษัทต้องการสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคก่อนว่า มีสินค้าของเราอยู่ในตลาด ปัจจุบันเป็นยุคของ social media ใช้มันให้เป็นประโยชน์ เพราะมันเข้าถึงคนจำนวนมาก โดยมีต้นทุนที่ต่ำ
ยกตัวอย่าง Movie teasers ที่สร้าง awareness ให้คนรับรู้ว่ากำลังจะมีหนังเรื่องนี้ฉายเร็วๆนี้ เพียงแต่ให้ดูตัวอย่างฉากไฮไลท์ที่น่าสนใจของหนังเรื่องนี้ เพื่อดึงดูดให้คนติดตามหนังเรื่องเต็ม
·         ขั้น 2 สร้างความสนใจในตัวผลิตภัณฑ์ (Product Interest) ในขั้นตอนนี้ผู้บริโภคมีความพร้อมที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท  บริษัทต้องแนะนำสินค้าในแหล่งข้อมูลที่ผู้บริโภคเข้าถึงได้อย่างง่ายๆ เช่น เว็บไซต์ บล็อก ใบปลิว วีดีโอ หรือแหล่งอื่นๆที่ทำให้ผู้บริโภคค้นหารายละเอียดได้

ยกตัวอย่าง Apple ที่เค้ามีการดีไซน์ ทำสคริปต์สำหรับการพรีเซ็นต์ของสตีฟ จ๊อบ หรือ ทิม คุก เวลาที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่จำหน่าย มีการเลือกใช้ทั้งศัพท์เทคนิคและไม่เทคนิคเพื่อให้คนเข้าใจได้ง่าย ให้ข้อมูลที่ชัดเจน ฉะฉาน ตรงประเด็น บอกไปเลยว่าจุดขายหลักคืออะไร สิ่งเหล่านี้ทำให้แอปเปิ้ลประสบความสำเร็จในการสร้างความสนใจในตัวสินค้าได้เป็นอย่างดี
·         ขั้น 3  การประเมินผลิตภัณฑ์ (Product evaluation) ก่อนที่ผู้บริโภคจะทำการตัดสินใจซื้อ พวกเขาจะตรวจสอบ เปรียบเทียบและประเมินผลิตภัณฑ์ โดยค้นหาข้อมูลทางออนไลน์  social media หรือถามคนอื่นๆ บางทีอาจจะดูจากที่คนรีวิวสินค้าเอาไว้  ดังนั้น เพื่อให้ง่ายการค้นหาของลูกค้าและการประเมินผลของผลิตภัณฑ์ จึงแนะนำให้บริษัททำข้อมูลที่แสดงความแตกต่างระหว่างผลิตภัณฑ์ของเรากับผลิตภัณฑ์อื่น ที่ขายสินค้าคล้ายๆกัน เพื่อให้ลูกค้าเห็นข้อแตกต่างได้ โดยง่าย
·         ขั้น 4  การทดลองใช้สินค้า (Product trial) บริษัทอาจจะมีนโยบายแจกเทสเตอร์สินค้าให้ทดลองใช้ ทำแคมเปญทดลองใช้ฟรี  หรือแจกคูปองที่ให้ส่วนลดจำนวนมาก
·         ขั้นที่ การยอมรับในผลิตภัณฑ์ (Product adoption) เมื่อผู้บริโภคเข้าสู่ขั้นตอนการยอมรับผลิตภัณฑ์ เขาพร้อมที่จะซื้อสินค้าแล้ว บริษัทต้องทำให้กระบวนการจ่ายเงินเป็นเรื่องที่ง่าย ใช้งานง่าย ได้รับสินค้าง่าย


จากกราฟ ความแตกต่างของแต่ละบุคคลในการยอมรับผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งจะมีทั้งหมด 5 กลุ่ม ที่มีค่านิยมแตกต่างกันออกไป ได้แก่
1.       กลุ่มผู้บุกเบิก (Innovators) เป็นผู้ชอบทดลองของใหม่กล้าเสี่ยง ซึ่งยังมีจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่น้อยอยู่
2.       กลุ่มผู้ยอมรับผลิตภัณฑ์แรกเริ่ม (Early adopters) พวกนี้จะเป็นผู้นำทางความคิดของกลุ่มและยอมรับในแนวคิดใหม่ได้เร็ว แต่มีความรอบคอบในการซื้อสินค้ามาก
3.       กลุ่มใหญ่ที่ใช้ผลิตภัณฑ์แรกเริ่ม (Early Majority) กลุ่มนี้แม้จะไม่ใช่ผู้นำ แต่ก็ยอมรับแนวคิดใหม่ก่อนคนอื่น
4.       กลุ่มใหญ่ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ในภายหลัง (Late majority) กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ขี้สงสัย พวกเขาจะยอมรับนวัตกรรมใหม่หลังจากที่คนส่วนใหญ่ได้ทดลองใช้แล้ว
5.        กลุ่มล้าหลัง (Laggards) กลุ่มนี้คือกลุ่มอนุรักษ์นิยม ไม่ค่อยยอมรับการเปลี่ยนแปลง ไม่ค่อยยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆ จะยอมรับก็ต่อเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นเป็นที่นิยม

จากการจัดประเภทผู้ยอมรับผลิตภัณฑ์ ฝ่ายการตลาดควรเน้นไปที่กลุ่มผู้บุกเบิก กลุ่มนี้มักเป็นกลุ่มที่อายุยังน้อย มีการศึกษาที่ดี รายได้ดีกว่ากลุ่ม ที่ใช้ผลิตภัณฑ์ในตอนหลัง กลุ่มบุกเบิก มีความกล้าเสี่ยง มีความจงรักภักดีในตราสินค้าน้อย และพร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสจากการส่งเสริมการตลาด เช่น ส่วนลด คูปอง การแจกสินค้าตัวอย่าง เป็นต้น

...............................................................

กระบวนการตัดสินซื้อของผู้ซื้อ(Buyer Decision Process)
                    ชื่อเรื่อง : Buyer decision process
                    ผู้แต่ง : Kotler P. and Keller K.L
                    แหล่งที่มา  : Kotler P. and Keller K.L (2009) Marketing Management (13th edn). Pearson Education International, Prentice Hall




กระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้ซื้อ
ขั้นที่ 1 การรับรู้ถึงความต้องการ (Need recognition) ผู้ซื้อจะเริ่มตระหนักถึงปัญหาหรือความจำเป็น ซึ่งอาจจะได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยภายใน เช่น ความหิว กระหาย โดยมีระดับที่สูงมากพอจนกลายเป็นแรงกระตุ้น หรือความต้องการนั้นอาจจะได้รับการผลักดันจากสิ่งกระตุ้นภายนอก เช่น การโฆษณา การพูดคุยกับเพื่อน
ขั้นที่ 2 การค้นหาข้อมูล (Information search) ผู้บริโภคที่สนใจในสินค้าอาจจะค้นหาหรือไม่ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม หากแรงกระตุ้นของผู้บริโภคมีอิทธิพลสูงและมีผลิตภัณฑ์ที่พึงพอใจอยู่ใกล้ มีความเป็นไปได้ว่าผู้บริโภคจะซื้อทันที แต่ถ้าหากไม่ซื้อ ผู้บริโภคจะเก็บไว้ในความทรงจำ หรืออาจค้นหาข้อมูลต่อไปจากเว็บไซต์ หรือคุยกับเพื่อน
ขั้นที่ 3 การประเมินผลทางเลือก (Evaluation of alternative) วิธีการที่ผู้บริโภคประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งตัวเลือกยี่ห้อต่างๆ นักการตลาดควรศึกษาว่า ผู้บริโภคประเมินแต่ละทางเลือกอย่างไร เพื่อจะได้โน้มน้าวการตัดสินใจของผู้ซื้อได้
ขั้นที่ 4 การตัดสินใจซื้อ (purchase decision) การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคจะซื้อตราที่ตนเองชอบมากที่สุด แต่บางครั้งอาจมีปัจจัยเข้ามาแทรก เช่น 1) ทัศนคติจากคนอื่นๆ หากคนที่มีความสำคัญกับเราคิดว่า เราควรซื้อรถยนต์ราคาถูกมากกว่าราคาแพง โอกาสที่จะซื้อรถยนต์ราคาแพงของเราก็จะลดลงไปด้วย 2) สถานการณ์ที่ไม่ได้คาดหวัง เช่น เศรษฐกิจแย่ คู่แข่งลดราคา เป็นต้น ดังนั้นความชอบและความตั้งใจที่จะซื้อ ไม่ได้ส่งผลต่อการเลือกซื้ออย่างแท้จริงเสมอไป
ขั้นที่ 5 พฤติกรรมภายหลังการซื้อ (post purchase behavior)  งานของนักการตลาดไม่ได้สิ้นสุดลงเมื่อสินค้าถูกซื้อไปแล้ว ผู้บริโภคอาจจะพอใจหรือไม่พอใจสินค้าก็ได้ ถ้าผลิตภัณฑ์มีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่คาดหวัง ผู้บริโภคก็จะผิดหวัง แต่หากพบว่ามันมีประสิทธิภาพเท่ากับที่คาดหวัง ผู้บริโภคก็จะพอใจ หากมีประสิทธิภาพสูงกว่าความคาดหวัง ผู้บริโภคก็จะรู้สึกประทับใจอย่างยิ่ง สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่า พนักงานขายควรสัญญาในสิ่งที่ตราสินค้าทำได้เท่านั้น เพื่อผู้ซื้อจะได้พึงพอใจ


...............................................................

ปัจจัยภายในที่มีผลต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ใหม่


ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ใหม่ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ
1.    กลยุทธ์  บริษัทควรมีกลยุทธ์ในการสร้างจุดแข็งเพื่อดึงดูดความสนใจ เช่น กลยุทธ์ในการสร้างความแตกต่าง, กลยุทธ์การเป็นผู้นำทางต้นทุนที่ต่ำ, กลยุทธ์การตลาดเฉพาะส่วน
2.    กระบวนการ  บริษัทควรคำนึงถึง  1) ระยะเวลาของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็วและตรงเวลา 2) กิจกรรมก่อนกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น การคิดค้นแนวคิด กลั่นกรองแนวคิด ประเมินความเป็นไปได้และพัฒนาแนวคิดไปสู่การผลิตจริง มีการวิเคราะห์ด้านธุรกิจโดยประมาณการยอดขายและผลกำไร มีการทดสอบตลาด และวางจำหน่ายสินค้าจริง 3) กิจกรรมช่วงการพัฒนา เช่น การทดลองผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง วิเคราะห์รายได้ที่เกิดจากการทดลองตลาด 4) กิจกรรมส่งเสริมการตลาด กระตุ้นให้ผู้บริโภคทดลองสินค้า เช่น แจกคูปองส่วนลดจำนวนมาก 5) กิจกรรมนำสินค้าออกสู่ตลาด แนะนำให้ผลิตภัณฑ์ให้คนรู้จัก
3.    ลักษณะของบริษัท บริษัทที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีที่ดี มีนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
4.    พนักงาน  ควรมีความสามารถหลากหลายด้าน มีสมรรถนะความสามารถ มีความรู้เกี่ยวกับงาน มีความรอบรู้เข้าใจในการประกอบธุรกิจ
ผู้บริหารระดับสูง ต้องสนับสนุนทีมงาน นอกจากนี้ยังต้องยอมรับความเสี่ยงในกรณีที่เกิดความ

...............................................................

ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ใหม่ประสบความสำเร็จ

ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ใหม่ ประกอบด้วย 3 ปัจจัย คือ

1.    ศักยภาพด้านการตลาด พิจารณาจาก ขนาดของตลาด การเติบโตของตลาด ระดับความ
ต้องการของตลาด
2.    การแข่งขันในตลาด พิจารณาว่าในตลาดมีการแข่งขันมากน้อยเพียงใด เพราะถ้ามีคู่แข่งสูง ก็อาจทำให้เกิดความเสี่ยงได้
3.    ความร่วมมือระหว่างองค์กร เช่น ความร่วมมือระหว่างบริษัทกับบริษัท supplier หรือ outsource ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์  ทั้งทางด้านการสร้างแนวคิด ทดสอบตลาด ผลิตสินค้าทดลอง ซึ่งการร่วมมือเหล่านี้ ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกระตุ้นการสร้างนวัตกรรม

...............................................................

หัวข้อ10 New Product Planning (ปุณณภา)



การวางแผนองค์กรที่จะออกสินค้าใหม่

ข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่จะออกแบบ มีงานออกแบบ รายละเอียดผลิตภัณฑ์ ทรัพยากรที่ใช้ในการออกแบบ โดยการเลือกตัวแทน ในการเลือกตัวแทนต้องดูถึงความรู้ของตัวแทน พฤติกรรม และนำไปสู่การที่ตัวแทนนำสินค้าสู่ตลาด

...............................................................


กลยุทธ์การออกสินค้าใหม่

มีปัจจัยด้านเทคนิคและไม่ใช่เทคนิค มีปฏิกริยาสะท้อนกลับของลูกค้า มี 2 Step 1.ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับมีตัววัดส่งไปยังStep 2 และ3 ส่วนแบ่งตลาด และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มาสู่การแข่งขันและทางเลือกอื่นๆ และมีความหลากหลายและยืดหยุ่น ไปสู่ความต้องการสินค้าใหม่และเทคโนโลยี เพื่อสินค้าที่ประสบความสำเร็จ


กลยุทธ์การออกสินค้าใหม่

มีปัจจัยด้านเทคนิคและไม่ใช่เทคนิค มีปฏิกริยาสะท้อนกลับของลูกค้า มี 2 Step 1.ประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับมีตัววัดส่งไปยังStep 2 และ3 ส่วนแบ่งตลาด และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มาสู่การแข่งขันและทางเลือกอื่นๆ และมีความหลากหลายและยืดหยุ่น ไปสู่ความต้องการสินค้าใหม่และเทคโนโลยี เพื่อสินค้าที่ประสบความสำเร็จ
...............................................................